วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Learning compensation 8

                                                             การบันทึกการเข้าเรียน
                    งดการเรียนการสอน เนื่องจาก. . .มีการจัดงาน การแข่งขันกีฬาบุคลากร 
                                    ภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ประจำปี2556







วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Learning compensation 7

การบันทึกการเข้าเรียน
งดการเรียนการสอน เนื่องจาก มีการสอบกลางภาค

วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Learning compensation 6

การบันทึกการเข้าเรียน
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนา คือ เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกันนเพียงด้านใดด้านหนึง อาจจะเป็นในทุกๆด้าน
ปัจจัยที่มีผลต่อเด็ก
 1.ปัจจัยทางชีวภาพ
 2.ปัจจัยสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
 3.ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
 4.ปัจจัยด้านแวดล้อมหลังคลอด
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
   1.โรคพันธุกรรม
   2.โรคของระบบประสาท
   3.การติดเชื้อ
  4.ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
  5.ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
  6.สารเคมี
  7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร   
สะท้อนตนเอง    
    - ทำให้ทราบถึงสาเหตุของความบกพร่องเพื่อที่ได้มีวิธีที่จะปฏิบัติกับเด็กได้ถูกต้อง

วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Learning compensation 5

การบันทึกการเข้าเรียน

 งดการเรียนการสอน เนื่องเป็นวันพ่อแห่งชาติ
                                   



วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Learning compensation 4

การบันทึกการเข้าเรียน
เนื้อหาที่เรียน
   1.เด็กออทิสติก
       


   2.เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์




สะท้อนตนเอง
       -ได้รับความรู้ในเรื่องของอาการของกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อนำความรู้ไปปรับใช้ในอนาคตเมื่อได้เป็นครูแล้วเจอเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้อย่างเหมาะสม

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Learning compensation 3

การบันทึกการเข้าเรียน
    เนื้อหาที่เรียน
     ลักษณะความผิดปกติซึ่งจัดอยู่ในความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพนั้นมีความแตกต่างกันมากมาย ทั้งนี้เพราะเกิดจากสาเหตุที่หลากหลาย เช่น โรคสมองพิการ (Cerebral Palsy)  เกิดจากความบกพร่องทางการเจริญเติบโตของสมอง ในขณะที่ความผิดปกติของร่างกายและสุขภาพอื่นๆ อาจเกิดได้จากปัจจัยทางพันธุกรรม หรือเป็นผลจากอุบัติเหตุ 

ความบกพร่องทางสุขภาพจะแตกต่างกันไปตามลักษณะที่ปรากฏ ดังนี้
 1.ความผิดกติของระบบประสา (Neurological conditions) ได้แก่
   - ซีพี Cerebral Palsy แขนขาลีบ เป็นอัมพาตเนื่องจากสมองพิการสองถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด และหลังคลอด เคลื่อนไหว พูด เดินช้ามาก
  -กล้ามเนื้ออ่อนแรง Muscular Distrophy เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เสื่อมสลายตัว เดินไม่ได้ นอนอยู่กับที่ พิการซ้อนในระยะหลังมีอัตราเสี่ยงต่อการสูญเสียความจำ
   -โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ Orthopedio ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อน เกิดจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัส แบตทีเรีย กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ
   - โปลิโอ มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา เกิดจากเชื้อไวรัสที่เข้าทางปาก จากการกินน้ำ กินอาหาร ส่วนมากจะเกิดที่ขามากกว่า ยืนไม่ได้ อาจช่วยด้วยอุปกรณ์เสริม อาการเริ่มแรกปวดหัว ปวดท้อง ปวดแขนปวดขาปวดหลัง ขาแข็ง แขนขาด้วนแต่กำเนิด
   - โรคกระดูกอ่อน Osteogenesis Imperfeta ร่างกายไม่สมส่วน ช่วงตัวถึงไหล่จะสั้น สะโพกลงไปถึงขาจะยาว พัฒนาช้ามากโตช้า

2.ความผิดปกติทางสุขภาพ (Health impairments) ได้แก่
  -โรคลมชัก เป็นลักษณะของความผิดปกติทางสมอง
     1. ลมบ้าหมู เมื่อเกิดอาการชักจะหมดสติและหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อจะเกร็งแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น ควรใช้ผ้าให้เด็กกัดเหมาะทีสุด
     2. การชักในช่วงเวลาสั้นๆ เป็นอาการชักชั่วระยะสั้นๆ 5-10 นาที เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก เด็กจะนั่งเฉยหรือตัวสั่นเล็กน้อย
     3. การชักแบบรุนแรง เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราว 2-5 นาที จากนั้นจะหายและนอนหลับไปชั่วครู่
     4. อาการชักแบบ Partial complex  เกิดอาการเป็นระยะๆ กัดริมฝีปาก ไม่รู้สึกตัว ถูตามแขนขา เดินไปมา บางคนอาจเกิดความโกรธหรือโมโห หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องการนอนพัก
     5. อาการไม่รู้ตัว อาการเกิดขึ้นในระยะสั้น ไม่รู้สึกตัว อาจทำอะรบางอย่าง โดยไม่รู้ตัว เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เหม่ลอย แต่ไม่มีอาการชัก

3.เด็กที่มีความบกพร่องทางกระดูกและภาษา
     - เด็กที่พูดไม่ชัด ออกเสียงผิดเพี้ยน มีอาการผิดปกติขณะที่พูด
     1. เด็กผิดปกติด้านการออกเสียง ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม เพิ่มหน่วยเสียงเข้าในคำ โดยไม่จำเป็น ออกเสียงหนึ่งมาแทนอีกเสียงหนึ่ง
     2. ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของอาการพูด เช่น การพูดติดอ่าง
     3. ความผิดปกติด้านเสียง ระดับเสียง ความดัง คุณภาพของเสียง
     4. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไม่เรียกว่า Dysphasia      


สะท้อนตนเอง
- ได้รู้ถึงพัฒนาการทางความบกพร่องของเด็กแต่ละประเภทเพื่อจะได้เตรียมการสอนให้สำหรับพวกเขาเมื่อหากไปเจอในอนาคต

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Learning compensation 2

การบันทึกการเข้าเรียน

  อาจารย์อธิบายความหมายเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Child with Special Needs)
 - เด็กพิเศษประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
 


การสะท้อนตนเอง                                                                                                                                   -ได้รับความรู้ในเรื่องของความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษและสาเหตุการเกิดอาการของกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้และเตรียมพร้อมสำหรับการสอนในอนาคต

งานที่ได้รับมอบหมาย
-อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 5 กลุ่ม ซึ่งมีหัวข้องานทั้งหมด 5 งาน (กลุ่มละ 1 หัวข้อ) ดังนี้
   1. เด็กดาวน์ซินโดรม
   2. เด็กซี.พี (Cerebral Palsy)
   3. เด็กออทิสติก
   4. เด็กสมาธิสั้น
   5.เด็กแอล ดี Learning Disorders)


วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Learning compensation.

การบันทึกการเข้าเรียน


วันนี้อาจารย์ได้อธิบายถึงเรื่องงานที่ต้องเรียนในวิชานี้ และได้แจกใบไว้สำหรับปั๊บเพื่อเป็นหลักฐานในการเข้าห้องเรียน

อาจารย์ให้อธิบายความหมายหรือสิ่งที่ตัวเองเข้าใจ ในหัวข้อเรื่องเด็กพิเศษ ออกมาในรูปแบบของMymapping



การสะท้อนตนเอง
  -จากการที่ได้ทำชิ้นงานในวัน ได้สะท้อนให้เห็นว่า ผู้เรียนทุกคนรวมไปถึงตัวของดิฉัน จะต้องมีการเตรียมความพร้อม ในเรื่องของการศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมของบทเรียนด้วยตนเองมาก่อนล่วงหน้า เพื่อที่จะได้มีความพร้อมในการเรียนในชั้นเรียน